“พระชุดสกุลลำพูนที่เป็นเนื้อโลหะ” ตอนที่ 5

พระเหล็กไหลดอยไซ โดย สำราญ กาญจนคูหา

“เวลาและกระแสน้ำนั้นไม่คอยใคร จะทำอะไรก็จงรีบทำเถิด”

มีคำกล่าวไว้เกี่ยวเนื่องกับ ”พระดอยไซ” ของเมืองลำพูนนานมาแล้วว่า

ดอยไซเหล็กไหลล้ำ พุทธคุณ

เป็นเอกองค์ค้ำจุน ทั่วหน้า

ชินเงินรวมเหล็กหลาย กันอยู่ตรึงตรา

ขลังลือนามท่านว่า “ สุดยอดพระพันปี ” โคลงโบราณ.

มีพระกรุลำพูนอีกชนิดหนึ่งที่วงการพระเครื่องไม่ค่อยจะรู้จัก นั่นก็คือ “ พระดอยไซ ” พระดอยไซนี้เป็นพระเนื้อโลหะผสมกันหลายอย่าง ชาวบ้านชาวเมืองลำพูนรู้จักและเรียกกันว่า ” พระเหล็กไหลดอยไซ ” หรือ ” พระหยวาดดอยไซ ” อันเป็นภาษาถิ่นที่มีความหมายว่าเป็นพระที่ตกมาจากที่สูงหรือมาจากนภากาศเบื้องบน อีกชื่อหนึ่งที่ชาวบ้านเขาเรียกกันก็คือ “ พระหยืด ” ที่มีความหมายว่าองค์พระเมื่อถูกไฟลนจะอ่อนตัวและยืดได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องแปลกอย่างหนึ่ง ของพระชนิดนี้ นอกจากจะมีพระดอยไซที่เป็นเนื้อโลหะแล้วยังมีพระดอยไซที่เป็นเนื้อดินเผาผสมว่านที่มีทั้งปางสมาธิและปางมารวิชัย ซึ่งเนื้อดินขององค์พระจะมีความละเอียดนวลหนึกนุ่มเช่นเดียวกับพระรอดและพระผงสุพรรณอันมีชื่อเสียง ซึ่งผู้เขียนได้นำภาพมาให้ท่านได้เห็นและจะได้กล่าวถึงในรายละเอียดต่อไป

ก่อนนั้นวงการพระเครื่องของทางส่วนกลางไม่รู้จักและเข้าใจกันว่า ” พระดอยไซ ” นี้เป็นพระเครื่องที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาและเป็นพระกรุชนิดเดียวของเมืองลำพูนที่ทำด้วยเนื้อโลหะหลายอย่างผสมกัน ไม่มีพระชุดสกุลลำพูนชนิดอื่นใดที่มีทำด้วยเนื้อโลหะ ซึ่งก็ไม่เป็นความจริงดังที่กล่าวกัน

เรื่องราวของ “ พระดอยไซ ” นั้นเป็นที่รู้จักกันทางภาคเหนือโดยเฉพาะในเมืองลำพูนนานมาแล้ว ในสมัยก่อน ” พระดอยไซ ” เป็นที่ต้องการของบรรดาชายหนุ่ม รุ่นคึกคะนองที่ในสมัยก่อนต้องออกไปรบทัพจับศึกด้วยการเป็นทหารกล้าที่ต้องออกรบในแนวหน้า เพราะมีความเชื่อมั่นในพุทธคุณที่รวมทุกอย่างในองค์พระอย่างพร้อมมูล ไม่ว่าเรื่องข่ามคง คงกระพันชาตรี เมตตา มหานิยมโดยเฉพาะเรื่องแคล้วคลาดอยู่รอดปลอดภัย จนมีคำติดปากของคนในยุคนั้นว่า “ เอาพระรอดของวัดมหาวันแท้ๆ 10 องค์ มาแลกพระดอยไซ องค์เดียวก็ไม่เอา ” “ พระดอยไซ ” ได้ชื่อว่าเป็นพระเครื่องสำคัญชนิดหนึ่งของพระกรุชุดสกุลลำพูน ที่เราจะลืมและมองข้ามไปไม่ได้ จึงขอนำมาบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ไม่ให้ลืมเลือนและสูญหายไป “ พระดอยไซ ” นั้นเป็นพระหนึ่งเดียวที่มีผู้กล่าวขวัญกันว่าเป็นพระที่มีเนื้อเหล็กไหลผสม เต็มไปด้วยกฤตยาคมอันสูงเปี่ยมล้นไปด้วยพลังจิตอันกล้าแกร่ง ปลุกเสกด้วยมนต์พิธีกรรมต่างๆ อันเข้มขลังและศักดิ์สิทธิ์ มีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐพร้อมทั้งฤาษีสมณะชีพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฎิบัติชอบเข้าร่วมในพิธีกรรม อันยิ่งใหญ่ ในการสร้างพระดอยไซนี้ขึ้นมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล มีเรื่องราวที่เชื่อกันว่าพระเหล็กไหลดอยไซนั้นถูกเก็บซ่อนไว้ภายในอุโมงค์ลึก ที่เต็มไปด้วยทรัพย์สมบัตินานาชนิด มากมายมหาศาล จุดประสงค์ของการสร้างพระเหล็กไหลดอยไซ ก็เพื่อที่จะให้เป็นของศักดิ์สิทธิ์ สำหรับการปกป้องคุ้มครองขุมทรัพย์โบราณแห่งนี้ อันเป็นของที่หวงแหนของผู้ที่เป็นเจ้าของใน อดีตสมัยก่อนๆต้องนำมาซ่อนไว้ เพื่อให้รอดพ้นจากภัยสงครามที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง คำบอกเล่าต่างๆได้ถูกถ่ายทอดออกมาจากปากของชายชราชาวบ้านในละแวกของ ” วัดพระพุทธบาทดอยไซ ” ตำบลป่าสัก อำเภอเมืองลำพูน ผู้เฒ่าคนนั้นได้เล่าว่าในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 มีคณะของนักสำรวจชาว ” เยอรมัน ” ได้เข้ามาสำรวจบริเวณของวัดพระพุทธบาทดอยไซ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเขามุ่งตรงไปยังหน้าผาใหญ่ ที่ปิดปากถ้ำ ไว้โดยอำนาจ ลึกลับ ที่ไม่มีใครหยั่งรู้ว่าปากถ้ำนั้นถูกปิด ตายด้วย ” หินผาใหญ่ ” ได้อย่างไร คณะสำรวจนั้น พยายามหา ช่องทางที่จะที่จะเข้าไปภายในถ้ำ นั้นให้ได้ แต่ก็ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ถึงขนาดที่พวกเขาได้นำดินระเบิด ” ไดนาไมท์ ” ไปฝังรอบๆหินก้อนใหญ่ที่ปิดปากถ้ำ เพื่อทำการระเบิด มีการ จุดชนวนระเบิดหลายต่อหลายครั้ง แต่ทำได้เพียงแค่ จุดไม้ขีดไฟดัง ” ฟู่ ” เดียวเท่านั้น ชนวนที่ถูกจุดไฟนั้นก็พลันมีอันต้องดับลง ในทุกครั้งที่มีการจุดชนวน เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้คณะสำรวจที่เป็นชาวฝรั่งต่างชาติต่างประหลาดใจและมีความงุนงงเป็นอย่างมากว่า มีอะไรเกิดขึ้นและมันเป็นเช่นนั้นได้อย่างไร

คณะสำรวจต่างชาติได้พยายามทุกวิถีทางที่จะระเบิดเปิดปากถ้ำนั้น ให้ได้ ดูพวก เขาช่าง มีความอดทนมุ่งมั่นและมีความพยายามอย่างเหลือเกิน พวกเขาคงจะได้ข้อมูล หรือคงจะมีลายแทงบอกที่เก็บขุมทรัพย์ของสถานที่แห่งนี้มาจากที่ใดที่หนึ่งก็ได้ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นทำให้พวกเขาโกรธแค้น หัวเสียและเกิดความท้อแท้ผิดหวัง ในที่สุดจึงละความพยายามโดยทิ้งความฉงนสนเท่ห์ไว้เบื้องหลัง ให้เหลือไว้เป็นเพียงตำนานให้ได้เล่าขานสืบต่อกันมา สิ่งที่หลงเหลืออยู่ให้เห็นเป็นประจักษ์พยานก็คือ รอยเจาะของรูที่ฝังระเบิดตรงหินผาที่ปิดปากถ้ำที่พวกนักสำรวจ ต่างชาติได้ เจาะเพื่อฝังดินระเบิด ” ไดนาไมท์ ” ในครั้งกระโน้น ยังมีปรากฎหลงเหลือให้เห็นตรงหน้าผาของปากทางเข้าถ้ำมหา สมบัติ จนทุกวันนี้ ในสมัยก่อนๆ นับเป็นร้อยๆปีที่ผ่านไป ผู้คนชาวเมือง ลำพูน ต่างได้พากันเสาะแสวงหาพระเครื่องกันเพื่อใช้ในการคุ้มครองตัวเองจากภัยร้ายต่างๆและการศึกสงครามที่มีมาอย่างต่อเนื่อง พระเครื่องชนิดใดที่ได้ชื่อว่า “ ข่ามคงทนต่ออาวุธ ” ที่ใช้ในการตีรันฟันแทงนั้นจะเป็นที่ต้องการและเสาะแสวงหาเป็นอย่างมา กยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด บรรดาผู้ที่เป็นเจ้าของพระชนิดดังกล่าวต่างหวงแหนและถือได้ว่าตนเองนั้นมีที่พึ่งเป็นพระที่ข่ามคง เหนียวเป็นหนึ่งไม่มีสอง ที่ไม่มีใครทาบได้ ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่ง ของลูกผู้ชายในยุคนั้น หนึ่งในพระเครื่องที่เป็นที่ต้องการของบรรดาผู้กล้านั้นก็คือ “ พระเหล็กไหลดอยไซ ” อันถือว่า เป็นยอดแห่งพระเครื่องสำคัญอันเป็นที่ใฝ่ฝันและมีการเสาะแสวงหามากที่สุด ซึ่งความจริงก็มีให้เห็นเป็นประจักษ์แก่ตาและคำเล่าลือของผู้คนในยุคนั้น พระเครื่องที่เด่น ดังในเรื่องความเหนียว คงกระพันชาตรีนั้น มีความหมายมากสำหรับคนในยุคสมัยก่อนเก่า ทีมีการใช้อาวุธของมีคมประเภท ตีรันฟันแทง เช่นง้าว หอก ดาบ เหลน หลาว ความนิยมพระเครื่องต่างๆก็เป็นไปตามยุคสมัยของแต่ละเวลา ถือได้ว่าเป็นที่พึ่งทางใจที่สำคัญมากที่สุด และแล้วทุกอย่างก็ได้แปรเปลี่ยนไป กลายเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอนอันเป็นกฎอนิจจังที่ไม่มีสิ่งใดจะอยู่คงที่และจะจีรังยั่งยืนไปโดยตลอด ปัจจุบัน ” พระเหล็กไหลดอยไซ ” เด็กรุ่นใหม่ แทบจะไม่รู้จักและเคยพบเห็นว่ามีรูปลักษณะเป็นเช่นไร และไม่มีใครที่พอจะรู้เรื่องที่จะนำมาเสนอได้ จึงเป็นเรื่องที่ผู้เขียนต้องค้นคว้านำมาบันทึกไว้ไม่ให้สูญหายไป จะเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง ถ้าไม่นำมาบอกกล่าวเล่าให้ได้รู้กัน ทุกวันนี้ ” พระเหล็กไหลดอยไซ ” ที่แท้จริง นั้นคงมีคนรู้จักกันน้อยจนไม่สามารถบอกได้ว่ามีรูปลักษณะเป็นเช่นไร จะมีให้เห็นก็เป็นเพียงพระเก๊หรือของปลอมที่ทำขึ้นมาเพื่อหลอกขายเท่านั้น มีการเรียกชื่อของพระชนิดนี้กันอย่างผิดๆโดยเรียกไปว่า ” พระดอยไทร ” ซึ่งมีความหมายว่า ดอยของต้นไทรที่มีรากอากาศงอกย้อยห้อยลงมา สำหรับชื่อที่ถูกต้องนั้นคือ ” พระเหล็กไหลดอยไซ ” คำว่า ” ไซ ” นั้นมีความหมายอยู่สองอย่างตามภาษาท้องถิ่น “ ไซ ” หนึ่งคือเครื่องมือที่ใช้ดักจับปลาอันเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน “ ไซ ” นี้สานด้วยไม้ไผ่ เมื่อปลาพลัดหลงเข้าไปก็ออกไม่ได้ ลักษณะจะเป็นเช่นตัวอย่างของไซเล็กๆ ที่บรรดาเกจิอาจารย์ได้ทำพิธีเสกเป่า ให้บรรดาพ่อค้าแม่ขายห้อยไว้ตามหน้าร้านโดยเชื่อว่า ” ไซวิเศษ ” นั้น จะช่วยดักเงินดักทองให้เข้ามามากให้ทำมาค้าขึ้นกัน นั่นเป็นความเชื่ออย่างหนึ่ง “ ไซ ” อีกความหมายหนึ่งก็คือหมายถึงชัยชนะในภาษาถิ่นดังนั้น ” ดอยไซ ” จึงมีความหมายโดยรวมว่า ” ดอยแห่งชัยชนะ ” ที่สามารถเก็บซ่อนขุมทรัพย์อันมหาศาลให้รอดพ้นจากเงื้อมมือของศัตรูได้อย่างปลอดภัย ผู้เขียนเห็นว่า คำหลังนี้จะเหมาะกว่า หรือท่านจะคิดอย่างไร

วัดพระบาทดอยไซนั้นเป็นวัดเก่าแก่โบราณ ตั้งอยู่บนดอยที่ไม่สูงนักมีต้นไม้ใหญ่น้อยเป็นร่มเงาดูร่มรื่นท่ามกลางธรรมชาติที่งดงามและเงียบสงบ สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่อยู่ในยุคของหริภุญไชยตอนต้น เป็นเส้นทางที่อยู่ในแนวเดียวกับ ” วัดชุหบรรพต ” หรือ ” วัดดอยติ ” ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่โบราณที่อยู่ในยุคเดียวกัน ใกล้ๆบริเวณของวัดดอยไซปรากฎแนวเส้นทางเดินโบราณที่เชื่อมต่อไปยังเมืองลำปางให้เห็น ซึ่งในสมัยก่อนใช้เส้นทางนี้กัน วัดพระบาทดอยไซนี้มีรอยพระพุทธบาทโบราณปรากฎอยู่ แต่ไม่ค่อยมีคนรู้เพราะวัดนี้เป็นเพียงวัดบ้านนอกเล็กๆที่ไม่ประกาศตัวว่ามีความสำคัญเช่นไร เนื่องจากอยู่ห่างจากตัวเมืองมาก จากข้อเขียนนี้คงจะทำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลที่เป็นสายตรงคงจะเข้าไปดูแลและช่วยส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองลำพูน ของดีของเมืองลำพูนยังมีอีกมากมายที่รอการพัฒนาและทำการค้นคว้าศึกษาเพื่อให้รู้ไว้เพื่อเป็นหลักฐาน มีการค้นพบรอยพระพุทธบาทบนแผ่นหินผาขรุขระในบริเวณวัดร้างแห่งหนึ่งที่อยู่ในบริเวณของโครงการบ้านจัดสรร ” ม่อนเบิกฟ้า ” ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมืองลำพูน ไม่ไกลจากวัดดอยไซนัก รอยพระพุทธบาทนี้ อยู่ใกล้กับที่ตั้งของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ “ หรือ ” สถาบันนิด้า ” จังหวัดลำพูน รอยพระพุทธบาทที่ค้นพบนี้เป็นรอยพระพุทธบาทเบื้องขวาหันมุ่งไปทางทิศตะวันตกมีขนาดกว้าง 50 ซ.ม ยาว80ซ.ม นอกจากนี้ใกล้ๆกันยังปรากฎมีรูลึกที่เชื่อกันว่าเป็นรูของไม้เท้าของพระพุทธองค์อยู่บนแผ่นผานั้นด้วย ทางเจ้าของโครงการมีความเคารพและศรัทธาในรอยพระพุทธบาทเป็นอย่างมากได้สร้างมณฑป ครอบรอยพระพุทธบาทนี้ไว้อย่างสวยงาม นอกจากนี้แล้วในบริเวณทุ่งนาของชาวบ้านในตำบลเหมืองจี้นั้น เคยมีการขุดพบพระพิมพ์ต่างๆของพระชุดสกุลลำพูนมากมายหลายชนิด รวมทั้งเศษเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าแก่ของยุคหริภุญไชย ซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงความเจริญและความเคารพศรัทธาในพระพุทธศาสนาในสมัยโบราณเก่าก่อนของอาณาจักรหริภุญไชยที่มีการสร้างสถานที่เคารพกระจายไปทั่วได้เป็น อย่างดี รายละเอียดต่างๆของพระดอยไซ ” นั้นแต่เดิมคงจะเป็นพระแผ่นโลหะที่สร้างไว้ประดับตามผนังถ้ำเ พื่อความอลังการและเข้มขลังของสถานที่พระดอยไซที่สร้างขึ้นมานั้นคงจะมีหลายแบบหลายอย่าง เนื้อโลหะของพระดอยไซนั้นทำด้วยแร่ธาตุพิเศษซึ่งคงจะหาไม่ได้ในยุคปัจจุบัน ผู้เขียนเคยได้ยินจากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสหลายท่านที่เล่าว่า “ พระเหล็กไหล ” ดอยไซนั้นทำมาจากวัตถุธาตุกายสิทธิ์ที่เป็นของวิเศษโดยแท้ มีผู้คนได้นำพระเหล็กไหลชนิดนี้มาลนไฟ พระชนิดนี้จะอ่อนตัวและยืดออกมา แต่ครั้นเมื่อนำไฟที่ลนออกไป ส่วนที่ยืดออกก็จะหดคืนสภาพเก่า จนเป็นที่ร่ำ ลือกันถึงความอัศจรรย์ ของพระชนิดนี้ ซึ่งในสมัยนั้นซึ่งบรรดาผู้คนชาวบ้านชาวเมือง ต่างตั้งมั่นอยู่ในศิลในสัตย์กันอย่างเคร่งครัดในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนากันอย่างมั่นคง จากการที่ได้พิจารณาดูเนื้อหาของพระดอยไซอย่างละเอียดนั้น “ พระเหล็กไหลดอยไซ ” เป็นพระเนื้อโลหะคล้ายเนื้อชินเป็นส่วนใหญ่มีแร่ธาตุหลายอย่างปะปนอยู่ ที่เรียกกันว่า ชินเงิน ชินตะกั่ว เนื้อโลหะขององค์พระจะเป็นแบบเนื้อระเบิด ที่มีรอยปริแตกร้าวไปเกือบทั้งองค์ เนื่องจากความเก่าและต้องอยู่ในที่อับชื้นภายในถ้ำ และหินผา ลักษณะโดยรวมจะเป็น แผ่นบางๆ ไม่ได้หนามาก ด้านหลังจะเป็นรอยขรุขระเหมือนกับลายของหินผาซึ่งพระชนิดนี้ถูกปะติดไว้ ทั่วทั้งองค์พระทั้งด้านหน้าและด้านหลังจะมีเศษของดิน หินและปูนขาวเป็นคราบกรุติดอยู่อย่างแน่นหนาเอาออกได้ไม่ง่าย

โดยเฉพาะด้านหลังขององค์พระจะเป็นลวดลายของพื้นผนังถ้ำอันขรุขระ ซึ่งจะเป็นแบบนี้เกือบทุกองค์ ที่เป็นความแปลกอย่างหนึ่ง ด้วยสภาพแวดล้อมที่ไม่ อำนวยสำหรับพระเนื้อโลหะที่มีลักษณะบอบบางจึงทำให้พระดอยไซส่วนใหญ่จะชำรุดแตกหักเสียหาย แต่ก็ยังคงไว้ในรายละเอียดต่างๆให้เห็นถึงศิลปะขององค์พระให้รู้ว่าอยู่ในยุคของสมัยใดได้อย่างชัดเจน เพราะความบอบบางและแบนราบขององค์พระ การจับต้อง เป็นเรื่องลำบากอาจจะทำให้องค์พระเกิดแตกหักเสียหายได้ ด้วยความรักและหวงแหนในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่หายากบรรดาผู้เป็นเจ้าของต่างก็พยายามประคับประคองรักษาองค์พระของตนไว้เป็นอย่างดี วิธีการที่ดีและง่ายที่สุดของภูมิปัญญาชาวบ้านที่ในยุคนั้นซึ่งไม่มีกรอบพระต่างๆไว้ใส่องค์พระเหมือนปัจจุบันวิธีที่ง่ายที่สุด เขาเหล่านั้นจะหาไม้สักแผ่นบางๆตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่กว่าองค์พระเล็กน้อยพองามแล้วนำเอาองค์พระวางทาบแล้วแกะเป็นแอ่งตามรอยรูปสามเหลี่ยมลึกพอประมาณพอที่จะเอาองค์พระใส่ลงไปได้พอดีหลังจากนั้นเอาขี้ผึ้งเป็นตัวประสานยึดไม่ให้องค์พระหลุดออกมาได้ง่ายจัดการตกแต่งแผ่นไม้ที่ใส่องค์พระให้เรียบร้อยตามความต้องการเท่านี้องค์พระที่ตนหวงแหนก็ดูแข็งแรงโดยมีแผ่นไม้ป้องกันการแตกหักเสียหายไปได้ชั้นหนึ่ง การจะนำติดตัวเขาจะห่อด้วยผ้าแดงอย่างทะนุถนอมและเชื่อมั่นในพุทธคุณอันสูงส่ง ดังนั้นเราจึงได้เห็นพระเหล็กไหลดอยไซรุ่นเก่าๆถูกดามม์ด้วยแผ่นไม้สักบางๆเกือบทุกองค์ดังที่เห็นในภาพ “ พระเหล็กไหลดอยไซ ” มีรูปลักษณ์เป็นรูปสามเหลี่ยมปลายมนเล็กน้อยส่วนบนสุดเป็นส่วนของปลายเกศ องค์พระตัดขอบชิดจะมีปีกหรือเนื้อส่วนเกินให้เห็นอยู่บ้างเป็นบางองค์ มีทั้งปางสมาธิและปางมารวิชัย หน้าตาขององค์พระจะดูดุดัน ดวงตาเป็นเม็ดกลมนูนโปนออกมาทั้งสองข้าง คิ้วทั้งสองชนกันเป็นรูปปีกกาซึ่งเป็นอิทธิพลของศิลปะขอมละโว้และทวารวดี เม็ดพระศกของพระเหล็กไหลดอยไซนี้เป็นเม็ดกลมโค้งมนเรียบร้อยแบ่งกรอบหน้าให้เป็นเสมือนกรอบของขอบไรพระศก เศียรขององค์พระเรียวแหลมขึ้นไปคล้ายทรงมงกุฎดูคล้ายกับเศียรของพระประธานของพระเหลี้ยมเล็กพิมพ์นิยม ลำคอเห็นเป็นปล้อง

การห่มจีวรเป็นแบบห่มดองสังฆาฏิยาวห้อยย้อยลงมาพองามหน้าอกเบื้องขวาจะเห็นหัวนมเป็นเม็ดกลมชัดเจนทั้งสองพิมพ์ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของพระเหล็กไหลดอยไซ ปางสมาธินั้นมือขวาวางทับบนมือซ้ายประสานกันบนกึ่งกลางของหน้าตักที่มีขาขวาทับขาซ้าย แขนและขาของพระดูผอมเรียวยาวที่มองดูเหมือนกับว่าเก้งก้าง ฐานที่ประทับนั้นมีรูปแบบหลายอย่างเช่นเป็นลักษณะของบัวหงายบัวคว่ำ และลายก้างปลา ตรงฐาน ส่วน ใหญ่จะ เป็นฐานตัด ศิลปะขององค์พระพอจะสรุปได้ว่าเป็น ” ศิลปะแบบทวารวดี ” ขอมละโว้ ” ที่เข้ามามีอืทธิพลในพุทธศิลป์ของเมืองลำพูนแห่งนี้ องค์พระมีส่วนคล้ายกับ “ พระผงสุพรรณ ” “ พระสุพรรณยอดโถ ” พระสุพรรณหลังผาน ” เมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน เพียงแต่ว่า ” พระดอยไซ ” นั้นมีขนาดที่ใหญ่กว่า มีผู้กล่าวและเปรียบเทียบ ” พระเหล็กไหลดอยไซ ” นี้ว่า สร้างขึ้นในสมัยปลายเชียงแสน ต้นอยุธยาโดยสังเกตุจากเค้าหน้าขององค์พระว่าเป็นหน้าแบบตั๊กแตน ซึ่งเป็นที่นิยมสร้างกันในสมัยอยุธยา และประมาณกาลของอายุพระชนิดนี้ว่า คงอยู่ในราว 400ถึง 600ปีเท่านั้น ในข้อสันนิษฐานต่างๆนี้ผู้เขียนได้นำพระดอยไซลองเปรียบเทียบกับพระปรกโพธิ์เชียงแสนและพระพิมพ์ต่างๆที่มีอยู่ในสมัยเชียงแสน ได้เห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจนกล่าวคือพระพิมพ์หรือพระบูชาในสมัยเชียงแสนนั้นจะมีใบหน้าที่ดูเอิบอิ่มยิ้มแย้มแช่มชื่น หน้าตาจะมีความเมตตาอย่างเห็นได้ชัด ไม่มีส่วนใดที่จะคล้ายหรือเหมือนกันเลย ตรงกันข้าม พระดอยไซนั้นจะมีหน้าตาที่เข้มดูขึงขันและดุดันดูเอาจริงเอาจัง และเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับพุทธศิลป์ของพระผงสุพรรณหรือพระพิมพ์ในสกุลสุพรรณกลับจะมีความเหมือนและคล้ายกันอย่างน่าประหลาดทั้งๆที่ทั้งสองเมืองนี้ อยู่ห่างไกลกันมากกลับมีการสร้างพระพิมพ์ที่มีพุทธศิลป์ได้ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะมีข้อสังเกตุอีกอย่างหนึ่งก็คือพระพุทธพิมพ์ทั้งสองแห่งนั้นได้ถูกสร้างขึ้นโดยฤาษีที่มีเดชตบะอันสูงอันมีการกล่าวถึงไว้ในตำนานของทั้งสองเมือง นอกจากจะมีการขุดพบพระเหล็กไหลดอยไซนี้แล้ว ภายหลังยังมีการขุดพบพระพิมพ์ต่างๆที่อยู่ในยุคทวารวดีอีกมากมายเช่น “ พระซุ้มกระรอกกระแต ” พระซุ้มพุทธคยา ” พระปางปฐมเทศนา ” “ พระปางเสด็จจากดาวดึงส์ ” พระโพธิสัตว์ในปางต่าง ” ซึ่งมีทั้งเนื้อดินและเนื้อโลหะปะปนกันในบริเวณดอยไซแห่งนี้ อันเป็นหลักฐานที่บ่งชี้ได้ว่า ณบริเวณดอยไซนี้อยู่ในยุคของ ” หริภุญไชย ” โบราณ

คุณวิเศษของพระดอยไซนั้น เชื่อกันได้และมีผลให้ได้เห็นเป็นประจักษ์กันมาแล้วว่าเป็นยอดทางคงกระพันชาตรีจริงๆ อาวุธต่างๆจะทำอันตรายไม่ได้ง่ายๆ ผู้เขียนเคยได้พบกับ ” คุณลุงหมอผล สุวรรณโสภณ ” แพทย์แผนโบราณที่มีบ้านอยู่หน้าสถานีตำรวจภูธรจังหวัดลำพูน ท่านเคยเป็นตำรวจมือปราบชั้นประทวนได้ทำการปราบปรามโจรผู้ร้ายอย่างโชกโชน คนร้ายต่างเกรงกลัวลุงหมอมาก ผู้ร้ายที่มีปืนต่างต้องทิ้งปืนเมื่อต้องเผชิญหน้ากับท่าน เพราะปืนที่ถืออยู่ไม่มีประโยชน์ ที่จะทำร้ายท่านได้เนื่องด้วยท่านมีพระเหล็กไหลดอยไซที่ท่านแขวนติดตัวไว้ มีพลานุภาพและชื่อเสียงเป็นที่รู้กันไปทั่วเมืองลำพูนในยุคนั้น อีกท่านหนึ่งก็คือ “ ลุงกำนันคำ สุระธง ” แห่งบ้านบ่อแห้ว ตำบลสันต้นธงอำเภอเมืองลำพูน ท่านผู้นี้มีพระเหล็กไหลดอยไซไว้คุ้มกันตัวเองที่ทำให้บรรดาโจรผู้ร้ายและบรรดาขโมยต่างเข็ดขยาดกันไปทั่ว หมู่บ้านของท่านจึงอยู่กันมาด้วยความสุขสงบท่านได้เคยให้ผู้เขียนได้ดูพระเหล็กไหลดอยไซของท่านอย่างชัดเจน ถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้เขียนนำมาบอกเล่าให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบอย่างเต็มปากเต็มคำ

ต่อจากนี้ไปจะเป็นภาพต่างๆของ “ พระเหล็กไหลดอยไซ ” ที่เป็นทั้งเนื้อโลหะและเนื้อดิน ทั้งปางสมาธิและปางมารวิชัยให้ท่านได้ชมกัน ท่านสามารถที่จะขยายภาพให้ใหญ่เพื่อดูเนื้อแท้ขององค์พระได้อย่างเต็มที่ว่าองค์พระมีความเก่าแก่เช่นไร ขอให้ท่านได้มีความสุขกับการเรียนรู้ในเรื่องราวของพระกรุที่เป็นของแท้และหาชมได้ยากยิ่ง

ภาพที่ 1 เป็นภาพของพระที่ชำรุดแตกหักเสียหาย จากการขุดค้นหา ณบริเวณเชิงดอยอันเป็นที่ตั้งของวัดพระพุทธบาทดอยไซ ตำบลป่าสัก อำเภอเมืองลำพูน ภาพนี้อยู่บนพื้นผ้าสีเหลืองเพื่อให้ดูกันอย่างชัดเจน เป็นภาพของพระเนื้อโลหะที่ขุดพบ อันประกอบไปด้วย พระซุ้มกระรอกกระแต พระดอยไซแบบปางสมาธิและปางมารวิชัย นอกจากนี้แล้วยังมีพระสมัยทวารวดีปรากฎให้ได้เห็นอันเป็นการบ่งบอกถึงยุคสมัยของพระเหล่านี้ว่าถึงยุคจริงๆ

ภาพที่ 2 บนพื้นของผ้าสีแดง เป็นพระที่ชำรุดอีกส่วนหนึ่งที่ขุดพบในแหล่งเดียวกัน เป็นชิ้นส่วนของเศียรพระ ลำตัวขององค์พระรวมทั้งส่วนประกอบอื่นๆ จะเห็นถึงความเก่าของเนื้อโลหะ คราบกรุและศิลปะขององค์พระที่ชำรุดหักพังไปอย่างน่าเสียดายยิ่ง ต่อจากนี้ไปท่านจะได้เห็นองค์พระที่มีความสมบูรณ์ไม่หักบิ่นในส่วนใดเพื่อเป็นความรู้สำหรับการศึกษาในเรื่องของพระกรุชุดสกุลลำพูนที่เป็นพระเนื้อโลหะที่ผู้เขียนได้นำมาแสดงเปรียบเทียบกับพระชนิดเดียวกันที่เป็นเนื้อดินเผาว่าจะมีความเหมือนและแตกต่างกันเช่นไร

ภาพที่ 3 เป็นพระดอยไซเนื้อโลหะปิดทองบางๆทั่วองค์พระ อันถือว่าเป็นการแสดงความเคารพบูชาอย่างสูงสุดอย่างหนึ่งของคนโบราณในสมัยก่อน องค์พระเป็นพระปางสมาธิที่พบเห็นกันน้อยสำหรับพระสกุลลำพูน การห่มจีวรเป็นลักษณะของการห่มดองเช่นเดียวกับพระรอดจะมองเห็นเม็ดพระถันเป็นตุ่มเม็ดนูนกลมโตดูเด่นอันเป็นลักษณะเฉพาะตัวของพระดอยไซ เศียรส่วนบนสุดเป็นปลายแหลมเม็ดพระศกกลมโตชัดเจนดี ดวงตาโปนนูนทำให้ดูหน้าค่อนไปทางดุดันดูถมึงทึง ปากเป็นปื้น ใบหูยาวพอประมาณ สะดือเป็นเบ้าลึก ลำองค์มองดูชลูดค่อนไปทางผอมบาง แขนขาดูเก้งก้างสมกับเป็นพระที่ฤาษีเป็นผู้สร้างจริงๆและมีส่วนคล้ายไปทางพระผงสุพรรณเป็นลักษณะของพุทธศิลป์แบบทวารวดียุคคลี่คลาย ส่วนฐานบัลลังก์ที่เป็นแบบลวดลายของลายก้างปลาสลับไปมาองค์พระมีความสูง 2 1/2นิ้ว กว้าง 1 1/4นิ้ว หนา 1/4 นิ้ว น้ำหนัก 25 กรัม ขุดได้ในบริเวณเชิงดอยของวัดพระพุทธบาทดอยไซอำเภอเมืองลำพูน

ภาพที่ 4 พระดอยไซปางสมาธิเนื้อดินเผาสีพิกุล เป็นพระที่มีเนื้อละเอียดเกือบจะเท่ากับเนื้อดินของพระรอดวัดมหาวัน พระพุทธคุณสูงทั้งความเมตตามหานิยม แคล้วคลาดรวมทั้งคงกระพันชาตรีมีพร้อมในพระดอยไซ ลวดลายประดับไม่มีอะไรมาก เป็นแบบที่เรียบง่ายคล้ายกับพระผงสุพรรณ พระดอยไซมีลักษณะที่เด่นก็คือมีเม็ดพระศกใหญ่ หูหนา ตาโปน ลำตัวยาวแขนขาดูเก้งก้างประทับนั่งบนฐานดอกบัวที่ทำเป็นลักษณะบัวคว่ำบัวหงาย ขุดได้ในบริเวณเชิงดอยของวัดพระพุทธบาทดอยไซอำเภอเมืองลำพูน ขนาดกว้าง 1 นิ้ว สูง1 3/4 นิ้ว หนา 1/4นิ้ว

ภาพที่ 5 พระดอยไซเนื้อโลหะที่อยู่ในกรอบไม้สักบางๆ อันเป็นการรักษาองค์พระไม่ให้แตกหักเสียหายหรือถูกทำลายลงไปง่ายๆเมื่อถูกพกพาไปในที่ต่างๆ เป็นการป้องกันตามภูมิปัญญาของชาวบ้านในสมัยก่อน สังเกตุให้เห็นเม็ดพระศกที่เป็นเม็ดกลมโต ดวงตาที่นูนโปนเด่น ปากเป็นปื้น ลำคอเป็นปล้องๆ ห่มจีวรแบบห่มดอง เห็นเม็ดถันกลมโตนูนเด่น องค์พระประทับนั่งอย่างสงบนิ่งดูขลังเอาการ ขนาดกว้าง 1 1/4นิ้ว สูง 2 นิ้ว หนา 1/2 ซ.ม. ขุดได้บริเวณเชิงดอยของวัดพระพุทธบาทดอยไซลำพูน

ภาพที่ 6 เป็นพระดอยไซปางสมาธิเนื้อดินเผาที่มีเนื้อละเอียด เป็นพระที่งดงามเรียบร้อยไม่หักหรือบิ่นในส่วนใด ขุดพบในที่แห่งเดียวกัน ขนาดกว้าง 1 นิ้ว สูง 1 1/2 นิ้ว หนา 3/4 นิ้ว

ภาพที่ 7 พระดอยไซเนื้อโลหะสีดำที่มองดูเข้มขลังดุดัน มีปีกหรือเนื้อเกินยื่นออกมาให้เห็น ประทับนั่งปางสมาธิราบ องค์พระมีเม็ดพระศกกลมโตเป็นเม็ดมันวาว โดยส่วนใหญ่ของพระดอยไซที่เป็นเนื้อโลหะนั้นจะหาชนิดที่สมบูรณ์งามพร้อมนั้นค่อนข้างจะหายาก ผู้เขียนได้ทำการคัดเลือกเฉพาะพระที่มีความชัดเจนและสมบูรณ์มาให้ท่านได้ชื่นชมกัน ขนาดขององค์พระกว้าง 1 นิ้ว สูง 1 ? นิ้ว หนา ? นิ้วพุทธคุณนับว่าเป็นเลิศ น้ำหนัก 20 กรัม ขุดได้ที่บริเวณเชิงดอยของวัดพระพุทธบาทดอยไซอำเภอเมืองลำพูน

ภาพที่ 8 พระดอยไซเนื้อดินเผาปางสมาธิ เป็นพระดอยไซที่สมบูรณ์อีกองค์หนึ่ง มีคราบกรุสีเทาดำติดอยู่อย่างบางเบาตามพื้นผิวและซอกลึกขององค์พระ ขนาดกว้าง 3/4 นิ้วสูง 1 3/4นิ้ว หนา 1/4 นิ้วขุดได้บริเวณเชิงดอยของวัดพระพุทธบาทดอยไซอำเภอเมืองลำพูน

ภาพที่ 9 เป็นภาพของพระดอยไซเนื้อโลหะที่งดงามและสมบูรณ์แบบที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นพระดอยไซสองหน้าปางสมาธิ ความคมชัดของพิมพ์ทำให้พระดอยไซองค์นี้มีความโดดเด่นเป็นหนึ่งไม่มีสอง ทั้งรูปลักษณ์ขององค์พระก็งดงามได้สัดส่วนในทุกประการ ด้วยความเป็นพระสองหน้า จึงทำให้องค์พระมีน้ำหนักมากกว่า พระดอยไซองค์อื่นคือ มีน้ำหนักถึง 60 กรัม กว้าง 1 นิ้ว สูง 2 นิ้ว หนา 1 ซ.ม ขุดได้ในแหล่งเดียวกัน เป็นพระประทับนั่งปางสมาธิทั้งสองหน้า มองดูเข้มขลังน่าเคารพบูชาเป็นที่ยิ่ง ผู้เขียนได้ทดลองอาราธนาทำการปลุกพระโดยผู้เชี่ยวชาญปรากฎว่ามีพระพุทธคุณที่แรงมากเป็นพุทธคุณชนิดครอบคลุมทุกอย่าง จนทำให้ผู้ที่ทำการปลุกบอกสู้ไม่ไหว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง หลายคนอาจจะไม่เชื่อในวิธีการนี้ แต่เราก็ไม่อาจจะลบหลู่ในพระพุทธคุณอันล้ำเลิศได้ พระดอยไซ องค์นี้ขุดได้บริเวณเชิงดอยของวัดพระพุทธบาทดอยไซอำเภอเมืองลำพูน

ภาพที่ 10 เป็นพระดอยไซเนื้อดินเผาปางสมาธิราบสีพิกุล การนำเอาพระดอยไซมาแสดงให้ได้เห็นทั้งเนื้อดินและเนื้อโลหะเป็นคู่ๆนั้น ผู้เขียนต้องการให้ท่านผู้ อ่านได้ทราบและรู้ว่าพระพิมพ์ในชุดสกุลลำพูนทุกอย่างที่มีอยู่นั้น มีทั้งเนื้อดินเผาและเนื้อโลหะจริง ๆ ซึ่งแม้กระทั่งพระดอยไซที่นักนิยมพระเครื่องในปัจจุบันแทบจะไม่รู้จักและไม่เคยได้เห็นองค์จริงทั้งๆที่เป็นพระที่มีชื่อเสียงอันเป็นตำนานที่กล่าวถึงอย่างลือลั่นในอดีต ก็ยังมีทั้งเนื้อดินและเนื้อโลหะให้ได้เห็น ดังที่ได้นำมาแสดงไว้ จึงเป็นที่มาที่ทำให้ผู้เขียนจะละเว้นเรื่อง “ พระชุดสกุลลำพูนที่เป็นเนื้อโลหะ ” โดยไม่นำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่วงการพระเครื่องของเมืองลำพูนต่อไปได้ ขอให้ท่านได้ติดตามเรื่องราวต่างๆต่อไป พระดอยไซองค์นี้มีความกว้าง 1 นิ้วสูง 1 3/4 นิ้ว หนา 1/4 นิ้ว ขุดพบในแหล่งเดียวกัน

ภาพที่ 11 พระดอยไซเนื้อชินเงินปางสมาธิราบ เป็นพระดอยไซอีกองค์หนึ่งที่หาพบยากมาก ไม่มีปรากฎในสนามพระใดๆให้ได้เห็น จึงนำมาแสดงให้ท่านได้เห็นเป็นประจักษ์ว่ามีพระชนิดนี้จริงๆ มีขนาดกว้าง 1 นิ้ว สูง 1 3/4 นิ้ว หนา 1/4ซ.มขุดพบในบริเวณเชิงดอยของวัดพระพุทธบาทดอยไซอำเภอเมืองลำพูน

ภาพที่ 12 พระดอยไซปางสมาธิเนื้อดินเผาอีกองค์หนึ่งที่มีขนาดกว้าง 1 นิ้ว สูง 1 3/4 นิ้ว หนา 3/4 นิ้วขุดพบบริเวณเชิงดอยของวัดพระพุทธบาทดอยไซอำเภอเมืองลำพูน

ภาพที่ 13 พระดอยไซเนื้อโลหะตะกั่วปางสมาธิที่มีคราบกรุติดอยู่ตามพื้นผิวและตามซอกต่างๆขององค์พระ ไม่ได้เอาขี้กรุคราบออก เพื่อให้เห็นสภาพเดิมๆขององค์พระ ซึ่งนักนิยมพระถือกันว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของพระกรุที่ให้ได้เห็นสภาพขององค์พระเดิมๆอย่างแท้จริงว่าเป็นเช่นไร พระดอยไซองค์นี้มีสภาพสมบูรณ์เต็มร้อย ความกว้าง 1 นิ้ว สูง 1 3/4 นิ้ว หนา 1/2 ซ.ม ขุดพบในที่แหล่งเดียวกัน

ภาพที่ 14 พระดอยไซปางสมาธิเนื้อดินเผาสีแดงที่มีความละเอียดของเนื้อ จะเห็นความเหี่ยวย่นอันบ่งบอกถึงความเก่าแก่ของอายุที่มีอย่างยาวนาน ตามแบบของพระกรุโดยแท้ขนาดกว้าง 1 นิ้ว สูง 1 3/4 นิ้ว หนา 3/4 นิ้ว ขุดได้บริเวณเชิงดอยของวัดพระพุทธบาทดอยไซอำเภอเมืองลำพูน

ภาพที่ 15 ภาพนี้เป็นพระดอยไซปางสมาธิสองหน้าที่งดงามและคมชัดของพระดอยไซในภาพที่ 9 นำเสนอให้ดูเพื่อเปรียบเทียบกับพระดอยไซอีกหน้าหนึ่งในองค์เดียวกัน ให้ได้เห็นถึงความเก่าแก่ของเนื้อพระว่าเป็นเช่นใด

ภาพที่ 16 เป็นพระดอยไซเนื้อดินสีแดงปางสมาธิ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังที่ไม่มีลายนิ้วมือ แต่เป็นรอยเหี่ยวย่นตามธรรมชาติของพระกรุที่มีอายุเก่าแก่ของหนึ่งในพระชุดสกุลลำพูนที่ควรจะรู้จักกันเอาไว้ พระดอยไซนอกจากจะมีปางสมาธิแล้ว ยังมีแบบที่เป็นพระปางมารวิชัย ซึ่งมีทั้งเป็นแบบเนื้อดินและเนื้อโลหะดังท่านจะได้เห็นในภาพต่อไปนี้

ภาพที่ 17 พระดอยไซเนื้อโลหะที่งามสมบูรณ์เป็นที่สุดอีกองค์หนึ่ง ซึ่งองค์พระประทับนั่งบนฐานบัลลังก์ที่เป็นฐานแบบบัวหงายบัวคว่ำ ให้ท่านสังเกตุตรงฐานประทับของพระดอยไซนั้นจะมีเป็นสองแบบคือเป็นลายก้างปลา ที่สลับไปมาและแบบบัวหงายบัวคว่ำ เป็นพระปางมารวิชัย เม็ดพระศกเป็นเม็ดกลมโต เศียรเป็นแบบทรงกรวย แหลมขึ้นไป ดวงตานูนโปนอันเป็นศิลปะทวารวดี ลำคอเป็นปล้องๆการห่มจีวรแบบห่มดองเห็นเม็ดพระถันเป็นตุ่มชัดเจน องค์พระได้สัดส่วนงดงาม น่าประทับใจเมื่อได้เพ่งพิศดูไปนานๆ พระดอยไซองค์นี้ถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีในกรอบไม้ ที่มีขี้ผึ้งเป็นตัวยึดติดเอาไว้ไม่ให้หลุดออกมาเป็นการป้องกันองค์พระยามพกพาไปในทุกที่ด้วยภูมิปัญญาของชาวบ้าน พระดอยไซองค์นี้เป็นพระเก่าเก็บที่อยู่ในละแวกบ้านป่าสักอำเภอเมืองลำพูน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดพระพุทธบาทดอยไซมากนัก ขนาดกว้าง 1 1/4 นิ้ว สูง 2 1/2นิ้ว หนา 1/4 นิ้ว

ภาพที่ 18 เป็นพระดอยไซปางมารวิชัยเนื้อดินสีแดงที่มีคราบกรุเป็นปูนขาวติดอยู่ตามพื้นผิว หน้าตาขององค์พระมองดูขมึงทึงดุดันอันเป็นแบบของพระชนิดนี้ มองเห็นเม็ดถันนูนเด่นชัดเจนขนาดกว้าง 3/4 นิ้ว สูง 1 1/2 นิ้ว หนา 1/4 นิ้วพอเหมาะแก่การพกพา

ภาพที่ 19 พระดอยไซปางมารวิชัยที่เป็นเนื้อโลหะสีดำที่อยู่ในกรอบไม้สัก ประทับนั่งบนฐานดอกบัวที่เป็นแบบบัวหงายบัวคว่ำ องค์พระมีผิวดำเข้มเพราะผ่านกาลเวลามายาวนานทำให้ดูขลัง ความสมบูณณ์ถือได้ว่าเต็มร้อยขุด ได้บริเวณเชิงดอยของวัดพระพุทธบาทดอยไซอำเภอเมืองลำพูน

ภาพที่ 20 พระดอยไซเนื้อดินเผาปางมารวิชัยสีพิกุล ที่มีพื้นผิวถูกคลุมได้วยคราบกรุบางๆ แต่ก็ยังมองเห็นองค์พระได้ชัดเจน มีเนื้อดินที่หนึกนุ่ม ไม่มีลวดลายประดับเป็นการทำแบบเรียบง่ายเช่นเดียวกับพระผงสุพรรณซึ่งเป็นข้อสังเกตุข้อหนึ่ง ขนาดกว้าง 3/4 นิ้ว สูง 1 1/2 นิ้ว หนา 3/4 นิ้ว

ภาพที่ 21 เป็นภาพของพระดอยไซเนื้อชินเงิน ที่เต็มไปด้วยคราบกรุสีดำทั่วทั้งองค์พระทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทำให้มองดูเข้มขลังที่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของพระกรุ องค์พระอยู่ในลักษณะที่สมบูรณ์ไม่หักหรือบิ่นชำรุดในส่วนใด กว้าง 1 1/4 นิ้ว สูง 1 3/4 นิ้ว หนา1/2 ซ.ม ส่วนบัวประดับใต้ฐานไม่มีให้เห็น

ภาพที่ 22 พระดอยไซปางมารวิชัยเนื้อดินเผาสีชมพูอ่อนมีคราบกรุติดอยู่ทั่วทั้งองค์สภาพเต็มร้อย ขนาดกว้าง 3/4 นิ้ว สูง 1 1/2 นิ้ว หนา 1/4 นิ้วขุดได้ที่บริเวณเชิงดอยของวัดพระพุทธบาทดอยไซ

ภาพที่ 23 พระดอยไซเนื้อโลหะปางมารวิชัยที่มีคราบไขขาวติดพราวทั่วองค์พระทั้งด้านหน้าและด้านหลัง พระองค์นี้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ขนาดกว้าง 1 นิ้ว สูง 1 1/2 นิ้ว หนา 1/4 นิ้ว

ภาพที่ 24 พระดอยไซปางมารวิชัยเนื้อดินเผาอีกองค์หนึ่งที่มีความสมบูรณ์ งามเรียบร้อยสีพิกุล มีปีกที่เป็นเนื้อเกินอยู่ด้านข้างของเศียรด้านซ้าย ส่วนใหญ่ของพระดอยไซที่เป็นเนื้อดินเผาจะทำพิมพ์แบบตัดชิดเกือบติดกับลำตัวพระ ท่านลองพิจารณาดูแต่ขอบเป็นขอบที่ทำเรียบร้อย ด้านหลังจะอูมนูนเหมือนกับพระสกุลลำพูนโดยทั่วไป

ภาพที่ 25 พระดอยไซปางมารวิชัยเนื้อโลหะที่มีคราบกรุติดแน่นเอาออกยาก เป็นเนื้อชินเงินที่มีความวาวของเนื้ออยู่ในตัว ปัจจุบันจะหาองค์ที่มีความสมบูรณ์เช่นนี้ยากมาก ขนาดกว้าง 3/4 นิ้ว สูง 1 1/2 นิ้ว หนา 1/4 นิ้ว

ภาพที่ 26 พระดอยไซเนื้อดินเผาปางมารวิชัยเนื้อละเอียด มีไขขาวของผงปูนติดอยู่ตามซอกและผิวพระทั่วไป ทำให้เนื้อพระดูเนียนหนึกนุ่ม เป็นพระที่ไม่ถูกจับต้องมาก จึงคงสภาพเดิมๆไว้ได้ป็นอย่างดี ขนาดกว้าง 1นิ้ว สูง 1 1/2 นิ้ว ส่วนหนา 1/4 นิ้ว

ภาพที่ 27 พระดอยไซปางมารวิชัยเนื้อโลหะที่มีไขขาวติดไปทั่วทั้งองค์ ดวงตาและเม็ดพระศกนูนเด่นเห็นชัดเจนดีเป็นพระเนื้อโลหะที่งามเรียบร้อยองค์หนึ่งที่หาชมได้ยาก ให้ท่านลองพิจารณาดูความเก่าของเนื้อก็จะตัดสินได้ว่าเป็นพระเก่าแท้แน่นอนขุดได้บริเวณเชิงดอยของวัดพระพุทธบาทดอยไซอำเภอเมืองลำพูน

ภาพที่ 28 เป็นพระดอยไซเนื้อดินสีพิกุล ที่มีคราบกรุติดอยู่บางเบาองค์พระคมชัดเรียบร้อยทุกประการความกว้าง 1 นิ้วสูง 1 3/4 นิ้ว หนา 3/4นิ้ว ขุดได้บริเวณเชิงดอยของวัดพระพุทธบาทดอยไซอำเภอเมืองลำพูน

ภาพที่ 29 เป็นพระดอยไซเนื้อโลหะปางมารวิชัยที่มีสภาพเดิมๆ มีคราบกรุให้ได้เห็นทั้งด้านหน้าและด้านหลังทำให้เราได้รู้ถึงวิธีการหล่อองค์พระซึ่งทำกันในแบบโบราณ ความไม่เข้ากันของเนื้อโลหะทำให้ด้านหลังดูไม่เรียบร้อย แต่ก็ไม่ได้ทำให้มนต์ขลังแห่งองค์พระต้องเสื่อมคลายลงไปได้ กลับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของพระกรุที่ผู้สร้างทำด้วยความตั้งใจและมีความศรัทธาอย่างแท้จริง

ภาพที่ 30 เป็นอีกองค์หนึ่งของพระดอยไซเนื้อโลหะปางมารวิชัยที่แสดงให้เห็นถึงด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระ ซึ่งจะเห็นความเก่าของเนื้อ ที่ไม่มีใครทำได้เหมือนและไม่เหมือนใคร ความเก่าแก่ของเนื้อโลหะ คราบกรุที่ติดอยู่แน่นทำให้องค์พระมีคุณค่ามากยิ่งขึ้นควรค่าแก่การสะสมเป็นอย่างยิ่ง

ภาพที่ 31 พระดอยไซเนื้อชินเงินปางมารวิชัยที่มีสนิมไขขาวเกาะติดองค์พระทั้งด้านหน้าและด้านหลังรวมทั้งคราบกรุที่เป็นปูนขาวแห้งติดอยู่ตามซอกต่างๆ คราบกรุนี้ช่วยรักษาเนื้อพระให้คงสภาพเดิมๆไว้เป็นอย่างดี สภาพเช่นนี้ไม่ควรล้างออกเพราะจะทำให้ด้อยความเก่าและความขลังไปอย่างน่าเสียดาย คราบกรุ ขี้กรุนั้นจะทำให้องค์พระดูมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้นเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของพระกรุโดยแท้

ภาพที่ 32 เป็นภาพของพระยอดขุนพลหริภุญไชย ที่ทำเป็นแบบลอยองค์เนื้อดินเผาทรงเครื่องประดับทั้งองค์ปางสมาธิอันเป็นอิทธิพลของพุทธนิกายมหายาน ที่เข้ามาแพร่หลายในเมืองหริภุญไชยในครั้งกระโน้น พระทรงเครื่องแบบนี้มีทั้งเนื้อดินและเนื้อโลหะหลากหลาย องค์ที่นำมาแสดงให้ท่านได้ชมนี้ก็เพื่อให้ท่านได้รู้กันว่ายังมีพระเครื่องต่างๆของเมืองลำพูนอีกมากมายที่ท่านไม่เคยได้เห็น ซ่อนตัวอยู่ในเมืองโบราณแห่งนี้ ซึ่งผู้เขียนจะได้นำมาเผยแพร่ให้ท่านได้รู้ได้เห็น อันเป็นการบันทึกไว้ไม่ให้ต้องสูญหายในโอกาสต่อไป พระทรงเครื่ององค์นี้มีความกว้าง 2 ซ.ม สูง 3 1/2 ซ.ม หนา 1 ซ.มขุดได้ที่วัดกู่ละมักตำบลสันต้นธงอำเภอเมืองลำพูนซึ่งเป็นวัดแรกที่พระนางจามเทวีทรงสร้างขึ้นก่อนจะเสด็จเข้าไปเพื่อครองราชย์สมบัติในเมืองหริภุญไชย

ภาพที่ 33 เป็นพระยอดขุนพลหริภุญไชยเนื้อดินเผา สีพิกุลอ่อนปางสมาธิ อีกองค์หนึ่งที่มีความงดงามและสมบูรณ์แบบ ให้ท่านได้เห็นตวามคมชัดของพิมพ์และฝีมือเชิงช่างโบราณที่สามารถรังสรรค์ผลงานอันปราณีตและเยี่ยมยอดที่มีความละเอียดอ่อนให้ลูกหลานได้ชื่นชมกัน ขุดได้ที่วัดกู่ละมักอำเภอเมืองลำพูน

ภาพที่ 34 เป็นภาพของพระโพธิสัตว์ไภสัชคุรุ เป็นพระโพธิสัตว์ที่เสด็จลงมาโปรดสัตว์และมนุษย์ที่ได้รับความเดือดร้อนทุกข์ยากให้ได้พ้นจากความเดือดร้อนทุกข์ทรมาน อันเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อในศาสนาพุทธนิกายมหายานที่เข้ามาเผยแพร่ในเมืองหริภุญไชยในครั้งกระโน้น เป็นพระเนื่อโลหะชินเงินขุดได้ที่วัดพระพุทธบาทดอยไซอำเภอเมืองลำพูน กว้าง 1 1/2 นิ้ว สูง 2 1/4 นิ้ว ส่วนหนา 1/4 นิ้ว มีสภาพที่สมบูรณ์ทุกประการไม่บิ่น หักหรือชำรุดในส่วนใด ถือได้ว่าเป็นวัตถุโบราณที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาตร์ชิ้นหนึ่งที่ขุดพบในเมืองโบราณแห่งนี้ได้อย่างเต็มภาคภูมิ